ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ

ผู้นำเสนอ

  1. การเตรียมตัวนำเสนอ
    1. ผู้นำเสนอแบบบรรยายดูลำดับและห้องในการนำเสนอได้ที่ตารางการนำเสนอผลงาน เมื่อทราบห้องแล้วควรนำไฟล์ประกอบการนำเสนอไปลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำห้องก่อนเวลาการนำเสนอ

      1. สำหรับผู้ที่นำเสนอช่วงเช้าควรลงไฟล์ให้เรียบร้อยก่อนพิธีเปิด

      2. สำหรับผู้ที่นำเสนอช่วงบ่ายควรลงไฟล์ให้เรียบร้อยก่อนหมดช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน

      3. แต่ละห้องที่นำเสนอมี 1. คอมพิวเตอร์ที่รองรับ Microsoft PowerPoint และ pdf ไว้ ผู้นำเสนอไม่ต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาด้วยตนเอง 2. Laser pointer เตรียมไว้ให้

      4. แต่ละกลุ่มการนำเสนอมีเวลานำเสนอ 10 นาที และตอบคำถามอีก 5 นาที ในระหว่างการนำเสนอมีสัญญาณเตือนเวลาต่อไปนี้

        1. เมื่อนำเสนอไปแล้ว 8 นาทีจะมีสัญญาณเตือนเหลือ 2 นาที
        2. เมื่อครบ 10 นาทีจะมีสัญญาณเตือนหมดเวลานำเสนอ
        3. เมื่อครบเวลาตอบคำถาม 5 นาที จะมีสัญญาณเตือนหมดเวลา
      5. การตัดสินรางวัลการนำเสนอแบบบรรยายเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้และการตัดสินใดๆของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

        1. เนื้อหาการนำเสนอ 40%
        2. การนำเสนอ 30%
        3. สื่อการนำเสนอ 15%
        4. การตอบคำถาม 15%
      6. ตัวอย่างสไลด์ในการนำเสนองานทางวิทยาศาสตร์ (เพื่อเป็นแนวทางและตัวอย่างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำตามนี้)

        Example of powerpoint.pdf

    2. ผู้นำเสนอแบบโปสเตอร์ เข้าดูรหัสโปสเตอร์ของตนเองได้ที่ตารางการนำเสนอแบบโปสเตอร์

      1. ผู้ที่นำเสนอในช่วงเช้าควรติดตั้งโปสเตอร์ก่อนเริ่มพิธีเปิด และเก็บออกภายใน 12.00 น. ผู้ที่นำเสนอในช่วงบ่ายควรติดตั้งก่อน 13.00 น. และเก็บออกเมื่อเสร็จการนำเสนอ

      2. สำหรับการนำเสนอในสาขาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ผู้จัดจะเตรียมโต๊ะขนาด 75 x 80 ซม. จำนวน 1 ตัวต่อทีม ไว้ให้ทุกทีมเพื่อวางชิ้นงาน พร้อมปลั๊กไฟ 1 จุด

      3. ตัวอย่างโปสเตอร์ในการนำเสนองานทางวิทยาศาสตร์ (เพื่อเป็นแนวทางและตัวอย่างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำตามนี้)

        Example of Poster.pdf

      4. การตัดสินรางวัลการนำเสนอแบบโปสเตอร์เป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้และการตัดสินใดๆของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

        1. เนื้อหาการนำเสนอ 40%
        2. โปสเตอร์ 30%
        3. การนำเสนอ 15%
        4. การตอบคำถาม 15%
  2. การร่วมงาน
    1. ผู้ร่วมงานทุกคนลงทะเบียนร่วมงาน ที่จุดลงทะเบียน
    2. ผู้ร่วมงานทุกคนร่วมพิธีเปิดและรับฟัง Plenary talk ร่วมกันที่ห้องสุรนารี โดย Plenary talk เป็นการบรรยายโดยนักวิทยาศาสตร์รับเชิญ เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยสูง
    3. ช่วงการนำเสนอแบบบรรยาย
      1. มีการนำเสนอพร้อมกัน 5 ห้องย่อย นักเรียนทุกคนควรเข้าร่วมฟังการนำเสนอของผู้อื่นในแต่ละห้องตามความสนใจ ไม่จำเป็นต้องนั่งประจำห้องที่นำเสนอเท่านั้น แต่ผู้นำเสนอแบบบรรยายควรต้องมาพร้อมที่ห้องนำเสนอก่อนเวลานำเสนอตามตารางของตนเองอย่างน้อย 15 นาที
      2. ผู้เข้าฟังทุกคนในห้องสามารถถามคำถามเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เช่นกัน ไม่จำกัดแต่เฉพาะกรรมการเท่านั้น และผู้นำเสนอต้องตอบทุกคำถามที่ได้รับในช่วงเวลาที่กำหนด โดยกรรมการประจำห้องและเป็นคนควบคุมการถาม-ตอบและเวลา
    4. ช่วงการนำเสนอแบบโปสเตอร์
      1. ผู้ร่วมงานรับของว่างและชมการนำเสนอแบบโปสเตอร์ตามอัธยาศัย
      2. นักเรียนและผู้ร่วมงานทุกคนสามารถเข้าชมการนำเสนอทุกโปสเตอร์ได้อย่างอิสระ พูดคุย ซักถามเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยผู้นำเสนอแบบโปสเตอร์ต้องยืนประจำโปสเตอร์ของตนเองเพื่อนำเสนอกับผู้ร่วมงาน เมื่อกรรมการมาถึงจึงนำเสนอต่อกรรมการและตอบคำถาม
      3. การนำเสนอต่อกรรมการขอให้กระชับเวลาในการนำเสนอไม่เกิน 5 นาทีต่อโปสเตอร์และตอบคำถามตามความเหมาะสม